วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

หลักในการประดิษฐ์ตัวอักษร

ในการผลิตสื่อเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน ทั้งที่เป็นวัสดุกราฟิค และวัสดุตั้งแสดง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อการสอนโดยตรง หรือการจัดกิจกรรมอื่น ๆ จะพบว่า การนำตัวอักษรมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมาย เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้การผลิตสื่อการสอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด การประดิษฐ์ตัวอักษรให้ได้ผลดี ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. บทบาทของตัวอักษร คือ การนำตัวอักษรไปใช้ประกอบกัน การจัดทำวัสดุประเภทต่าง ๆ โดยทั่วไปมีบทบาทต่าง ๆ กันดังนี้
1) อักษรบอกชื่อเรื่อง
2) อักษรบอกชื่อเรื่องรองหรือบอกตอน
3) อักษรบรรยายภาพ
4) อักษรอธิบายภาพ
5) อักษรที่ใช้สรุป หรือย่อเรื่อง
6) อักษรบอกรายละเอียดอื่น ๆ

2.ที่เหมาะสม ได้ดังนี้
1) ตัวอักษรหัวกลม : เหมาะกับงานที่เป็นทางการ
2) ตัวอักษรหัวตัด : มีลักษณะเป็นกึ่งทางการ อ่านง่าย ใช้กับป้ายนิเทศ
3) ตัวอักษรแบบไม่มีหัว : เหมาะกับงานออกแบบต่าง ๆ ปกหนังสือ
4) ตัวอักษรแบบคัดลายมือ : ใช้กับงานพิธีต่าง ๆ ของไทย ประกาศนียบัตร
5) ตัวอักษรประดิษฐ์ : ใช้กับหัวเรื่อง งานโฆษณา งานเฉพาะทาง เพื่อเน้น ความหมายของสิ่งนั้น ๆ ตัวอย่างรูปแบบตัวอักษรแบบต่าง ๆ


3. ขนาดของตัวอักษร การใช้ขนาดตัวอักษรเพื่อความเหมาะสม ให้พิจารณา
1) ขนาดของพื้นที่กับจำนวนคำหรือข้อความที่ใช้ ว่ามีช่องไฟและสัดส่วนที่ เหมาะสมหรือไม่
2) ระยะห่างจากผู้ดูกับขนาดของตัวอักษรควรสัมพันธ์กัน โดย ระยะห่าง 32 ฟุต : ตัวอักษรไม่ต่ำกว่า 1 นิ้ว 3) ถ้าเป็นตัวอักษรกับงานถ่ายทำ ควรมีขนาดเป็นอัตราสี่ส่วนกับระยะทาง ดังนี้ สไลด์ ตัวอักษร 1 นิ้ว (บนจอ) : ระยะห่าง 20 ฟุต แผ่นใส ขนาด 1/4 นิ้ว บนแผ่นใส
4) บทบาทของตัวอักษรกับจุดประสงค์ของการนำไปใช้


4. วิธีการจัดทำตัวอักษร เป็นเทคนิคการผลิตตัวอักษร โดยการนำอุปกรณ์มาช่วย ในการประดิษฐ์ เพื่อให้ได้รูปแบบตามต้องการ วิธีการแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และเครื่องมือ วัตถุประสงค์ของงาน บุคลากร งบประมาร วิธีการจัดทำมี 3 วิธีคือ
1) ตัวอักษรที่เขียนด้วยมือ ใช้อุปกรณ์ประเภทปากกาแบบต่าง ๆ พู่กัน
2) ตัวอักษรที่เขียนด้วยเครื่องมือ ใช้เครื่องมือเขียนแบบ เครื่องช่วยเขียนตัว อักษรประเภทต่าง ๆ เช่น ลีรอย ไรโก้ แวริกราฟ แบบเขียนตัวอักษร
3) ตัวอักษรสำเร็จรูป เช่น ตัวอักษรลอก อักษรตรายาง อักษรตัดด้วยวัสดุ เป็นต้น






5 หลักการออกแบบตัวอักษรให้อ่านง่าย การออกแบบตัวอักษรให้อ่านง่ายทำได้ดังนี้
1. เลือกแบบตัวอักษรที่อ่านง่าย เช่น อักษรไทยแบบหัวกลมและแบบคัดลาย มือ อักษรอังกฤษ แบบพิมพ์ใหญ่ เป็นต้น
2. สีพื้นและสีของตัวอักษรควรมีลักษณะตัดกัน หากต้องการให้มองเห็นระยะไกล ๆ สีพื้นควรเป็นสีอ่อน สีตัวอักษรสีเข้ม เช่น พื้นสีเหลืองตัวอักษรสีดำ หรือแดง หรือน้ำเงิน หากใช้พื้นสีเข้ม สีตัวอักษรจะต้องตัดกับสีพื้น เช่น พื้นสีแดง ตัวอักษรสีดำหรือสีขาว หรือพื้นสีฟ้า ตัวอักษรสีขาว เป็นต้น
3. อัตราส่วนความสูงและความกว้างของตัวอักษร ที่นับว่าอ่านง่ายได้แก่อัตราส่วน 5:3
4. ความหนาของเส้นจะต้องให้สัมพันธ์กับความสูงของตัวอักษรอย่างพอเหมาะ คือ ถ้าตัวอักษรสูงขึ้นความหนาของเส้นและความกว้างของตัวอักษรจะต้องมากขึ้นด้วย



6. หลักเบื้องต้นในการเขียนตัวอักษร การเขียนตัวอักษรมีหลักเบื้องต้นในการเขียนดังนี้
1. ตีเส้นกำกับบรรทัดตามแนวนอน โดยเว้นบริเวณบนและล่างให้เหลืออย่าง เหมาะสม ทั้งนี้ให้คำนึงถึงข้อความที่มีสระและวรรณยุกต์ข้างบนและข้างล่างด้วย
2. นับจำนวนตัวอักษร หมายถึง จำนวนตัวอักษรทั้งหมดที่จะเขียนเพื่อจะได้คำนวณเนื้อที่ทั้งหมด สำหรับบรรจุตัวอักษร
3. แบ่งช่องไฟและความกว้างตัวอักษร แล้วตีเส้นร่างขนาดตัวอักษรและช่องไฟในแนวดิ่งตามจำนวนตัวอักษรที่จะเขียน
4. ร่างตัวอักษรลงในช่องไฟที่กะประมาณไว้ ข้อความเดียวกัน มีความสำคัญเท่ากัน ควรใช้ตัวอักษรลักษณะแบบเดียวกัน
5. ลงหมึก หรือสีแล้วลบรอยเส้นที่ตีไว้ออกให้หมด



ตัวอย่างแสดงลำดับขั้นตอนการเขียนตัวอักษร ตัวอย่างเขียนคำว่า "เทคโน" ตัวอักษรแบบหัวกลม
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด 2. นับตัวอักษร คำว่า เทคโน มีตัวอักษรทั้งหมด 5 ตัว 4 ช่องไฟ













3. แบ่งช่องไฟและความกว้างตัวอักษร กำหนดตัวอักษร 1.5 ซ.ม. ช่องไฟกว้าง 0.3 ซ.ม. ฉะนั้นเนื้อที่ตัวอักษรและช่องไฟจะกว้างประมาณ 7.2 ซ.ม. และเหลือพื้นที่หัวท้ายอีกด้านละ 0.5 ซ.ม. รวมเป็น 1 ซ.ม. ฉะนั้นจึงใช้พื้นที่ทั้งหมด 8.2 ซ.ม.

4. ร่างตัวอักษร
















5. ลงหมึกหรือสีแล้วลบรอยเส้นดินสอ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น